วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2554

จริยธรรมและความปลอดภัย


จริยธรรมและพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์

จริยธรรม(Ethics) หมายถึง "หลักศีลธรรมจรรยาที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ

หรือควบคุมการใช้ระบบคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ"

ตัวอย่างการกระทำความผิดในด้านจริยธรรมคอมพิวเตอร์เช่น

-การใช้ถ่อยคำไม่สุภาพ
-การโฆษณาชวนเชื่อเกินความจริง
-การกระทำที่ก่อให้เกิดความรำคาญแกผู้อื่น
การกระทำความผิดในด้านจริยธรรมนั้นเป็นความผิดที่ไม่มีข้อกำหนดทางกฎหมาย
แต่เกิดจากจิตสำนึก
ปัจจุบันมีการใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ในปีพ.ศ.0 2550
มีการประกาศกฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติญัติแห่งชาติ
โดยสามารถสรุปลักษณะการกระทำความผิดและบทลงโทษดังนี้
มาตรา 1-4 กล่าวถึง ข้อกำหนดการใช้และความหมายของสำคัญที่เกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติÏ คอมพิวเตอร์
มาตรา 5-17 เป็นมาตราที่เกี่ยวข้องกับบุคคลทั่วไป ซึ่งสามารถสรุปการกระทำความผิดและบทลงโทษได้ดังนี้
-     มาตรา 5 ห้ามไม่ให้เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกัน หากกระทำมีโทษ จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
-     มาตรา 6 ห้ามไม่ให้นำข้อมูลของผู้อื่นไปเผยแพร่จนเกิดความเสียหาที่ หากกระทำมีโทษ จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
-     มาตรา 7 ห้ามไม่ให้ใช้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกัน หากกระทำมีโทษ จำคุกไม่เกิน 2 ปีหรือปรับไม่เกิน40,000บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
-     มาตรา 8 ห้ามไม่ให้ดักรับไว้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นมิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ได้ หากกระทำมีโทษ จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน60,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
-     มาตรา 9 ห้ามทำให้ข้อมูลของผู้อื่นเสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หากกระทำมีโทษ โทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
-     มาตรา 10 ห้ามทำให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ หากกระทำมีโทษ จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน100,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
-     มาตรา 11 ห้ามส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่ผู้อื่นโดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูล ที่เป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น หากกระทำมีโทษ ปรับไม่เกิน100,000บาท
-     มาตรา 12 ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา 9 หรือ 10 แล้วก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ต้องจำคุกไม่เกิน 10 ปี และปรับไม่200,000บาท แต่หากก่อให้เกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือการบริการสาธารณะ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3-15 ปี และปรับตั้งแต่ 60,000-300,000บาท แต่หากกระทำความผิดเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องโทษจำคุกตั้งแต่ 10-20 ปี
-     มาตรา 13 ห้ามจำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดตามมาตรา 5-11 หากกระทำมีโทษ จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
-     มาตรา 14 ห้ามเข้าใช้หรือนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน100,000บาท
-     มาตรา 15 ห้ามให้บริการ สนับสนุน หรือยินยอมให้ผู้อื่นปฏิบัติความผิดตามมาตรา ๑๔ หากกระทำความผิดมีโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำผิดนั้น
-     มาตรา 16 ห้ามเข้าถึงข้อมูลภาพที่สร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลง โดยทำให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย หากกระทำมีโทษ จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน60,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
-     มาตรา 17 ถ้าผู้ใดกระทำความผิดนอกประเทศไทย แต่ผู้กระทำผิดเป็นคนไทย ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนต่างด้าว และรัฐบาลไทยหรือคนไทยเป็นผู้เสียหายและผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษจะต้องรับโทษภายในราชอาณาจักร
มาตรา 18-30 เป็นมาตราที่กำหนดขึ้นมาเพื่อประโยชน์ในการสืบสวน สอบสวน และข้อกำหนดของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการดำเนินการต่อผู้กระทำความผิด

อาชญากรรมคอมพิวเตอร์
อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Crime หรือ Cyber Crime) คือ การกระทำความผิดทางกฎหมายโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือ 
ลักษณะการกระทำความผิด                                                                                 
1. การเข้าถึงข้อมูลโดยไม่มีอำนาจ (Unauthorized Access) คือ การเข้าไปใช่ระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต
-     การเข้าถึงโดยการเจาะระบบ (Hacking or Cracking)
คือการบุกรุกทางคอมพิวเตอร์ทั้งนี้เพื่อทำลาย เปลี่ยนแปลง หรือเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์
-     การลักลอบดักข้อมูล (Illegal Interception)
มีการให้เทคนิคอุปกรณ์ เพื่อดักฟัง ตรวจสอบ ติดตาม
-     การรบกวนระบบคอมพิวเตอร์ (Data and System Interference)
เพื่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบคอมพิวเตอร์และข้อมูลของผู้อื่น
-     การใช้อุปกรณ์ทางมิชอบ เป็นการกระทำความผิดด้วยการผลิต แจกจ่าย จำหน่าย ครอบครองอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
2.การใช้คอมพิวเตอร์โดยมิชอบ (Computer Misuse) เป็นการกระทำโดยใช้คอมพิวเตอร์ประกอบอาชญากรรมทุกรูปแบบ
3.ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (Computer Related Crime) เป็นการใช้เครื่อง คอมพิวเตอร์เพื่อประกอบการกระทำความผิดด้านต่างๆ
-     การปลอมแปลงข้อมูลคอมพิวเตอร์ มีผลตั้งแต่การป้อนข้อมูลที่เป็นเท็จ รวมถึงการลบหรือการย้ายข้อมูลออกจากสื่อที่ใช้ในการบันทึก ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อผู้อื่น
-     การฉ้อโกง โดยมีเจตนาเพื่อทุจริต โดยการกระทำนั้นทำให้เกิดประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน
-     การใช้สื่อลามกอนาจารแพร่หลาย ให้สื่อลามกอนาจารปรากฏแก่ผู้อื่นด้วยการผลิต ส่งผ่าน จัดให้ได้มาหรือทำให้แพร่หลายในระบบคอมพิวเตอร์
ลักษณะผู้กระทำความผิด
1.     มือสมัครเล่น (Amateurs) มักกระทำความผิดเนื่องจากความอยากรู้อยากเห็น หรือ ความคึกคะนอง โดยไม่มีเจตนาร้าย ผู้กระทำความผิดประเภทนี้มันทำให้เกิดความรำคาญมากกว่าทำให้เกิดความเสียหาย
2.    แคร็กเกอร์ (Cracker) คือ ผู้บุกรุกหรือรบกวนระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น มักเป็นผู้ที่มีความรู้ทางคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี โดยสร้างความเสียหายให้แก่ระบบคอมพิวเตอร์หรือข้อมูล
3.    อาชญากรมืออาชีพ (Career Criminials) มันเป็นคนที่มีความรู้ทางคอมพิวเตอร์ค่อนข้างสูง โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อหวังทรัพย์สินของผู้อื่น



แนวทางป้องกัน

1.     การป้องกันข้อมูลส่วนตัว สามารถปฏิบัติได้โดยการตั้งค่ารหัสเข้าข้อมูลของไฟล์ข้อมูล
           
               ตัวอย่างการป้องกันเอกาสารใน Microsoft word

2.    การป้องกันการเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ เป็นการป้องกันไม่ให้ผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาตเข้าใช้เครื่องคอมพิวเตอร์
-     การใช้ Username หรือ User Id และ Password

        ตัวอย่างการใช้ Username และ รหัสผ่าน
-     การใช้เทคโนโลยีด้านฮาร์ดแวร์ในการเข้าสู่ระบบ เช่น การใช้สมาร์ทการ์
                  
                 ตัวอย่างการใช้สมาร์ทการ์ด
-     การใช้อุปกรณ์ทางชีวภาพ (Biometric Device) เป็นการให้อุปกรณ์ที่ตรวจสอบลักษณะส่วนบุคคล เช่น การตรวจสอบเสียง ลายนิ้วมือ
          
                      ตัวอย่างอุปกรณ์ใช้ตรวจสอบลายนิ้วมือ
3.    การสำรองข้อมูล (Backup Disks) ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ควรสำรองข้อมูลอย่างสม่ำเสมอและไม่เก็บข้อมูลไว้ที่เดียวกันกับระบบคอมพิวเตอร์ที่ทำการ

              ตัวอย่างการสำรองข้อมูลด้วย Microsoft Windows xp

4.    การติดตั้งโปรแกรมค้นหาและกำจัดไวรัสคอมพิวเตอร์ เป็นวิธีการป้องการอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ที่นิยมใช้กันมากที่สุด ปัจจุบันมีโปรแกรมค้นหาและกำจัดไวรัสหลายโปรแกรม โดยผู้ใช้ควรติดตั้งโปรแกรมอย่างน้อย 2 โปรแกรมต่อเครื่อง

ตัวอย่างโปรแกรมค้นหาและกำจัดไวรัส





วันพฤหัสบดีที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ

 ระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์
        คอมพิวเตอร์ คือ เครื่องมือหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีความสามารถในการประมวลผลข้อมูลในรูปแบบดิจิทัล


การทำงานของคอมพิวเตอร์จะประกอบไม่ด้วยหน่วยการทำงานหลักๆ 4 หน่วย
- หน่วยรับข้อมูล (Input Unit)
   ทำหน้าที่รับข้อมูลที่รับข้อมูล โปรแกรม และคำสั่งจากผู้ใช้ เพื่อนำไปประมวลผลในระบบ 
   ประมวลผลกลางต่อไป



- หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit)
   จัดเป็นสมองของระบบสารสนเทศเนื่องจากทำหน้าที่ประมวลคำสั่งและควบคุมการทำงานทั้งหมดของ
   คอมพิวเตอร์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ส่วน

       1.หน่วยควบคุม(Control Unit)
       ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ทุกส่วน ให้มีการประมวลเป็นจังหวะตามสัญญาณ
       นาฬิกา
     2.หน่วยคำนวณและตรรกะ(Arithmectic and Logical Unit)
       ทำหน้าที่คำนวณทางคณิตศาสตร์

- หน่วยความจำ(Memory Unit)
   แบ่งเป็น 2 ประเภท
    1.หน่วยความจำหลัก (Primary Storage)
       ข้อมูลที่เก็บไว้ในหน่วยความจำหลักนี้จะเป็นข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้ในหน่วยประมวลผลกลาง
       หน่วยความจำหลักแบ่งออกเป็น 3ประเภท
            *หน่วยความจำแรม(RAM Memory) ทำหน้าที่เก็บข้อมูลหรือซอฟแวร์ในระหว่างที่มีการประมวล
               ผลข้อมูล
            *หน่วยความจำรอม(ROM Memory) เป็นหน่วยความจำที่บันทึกข้อมูลและคำสั่งเริ่มต้นของระบบ
            *หน่วยความจำซีมอส(CMOS Memory)เป็นหน่วยความจำที่ใช้เก็บข้อมูลสารสนเทศที่ใช้เป็น
              ประจำของระบบความพิวเตอร์
    2.หน่วยความจำสำรอง(Secondary Storage)
       ทำหน้าที่จัดเก็บข้อมูลต่างๆไว้เพื่อให้สามรถนำข้อมูล ชุดคำสั่ง หรือซอฟแวร์นั้นกลับมาใช่ใหม่ได้
       ในอนาคต   

- หน่วยแสดงผล(Output Unit)
   ติดต่อสื่อสารและแสดงผลต่อผู้ใช้ ทั้งในขณะที่ทำการประมวลผลและหลังจากการประมวลผลเสร็จ
   แล้ว โดยทั่วไปจะใช้จอภาพเพื่อติดต่อสื่อสารกับผู้ใช้เป็นหลัก


ส่วนประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
ส่วนประกอบของระบบคอมพิวเตอร์แบ่งเป็น 5 ส่วน
1.ฮาร์ดแวร์(Hardware) คือเครื่องมือหรืออุปกรณ์ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์
   - แป้นพิมพ์หรือคีย์บอร์ด(Keyboard)
      ทำหน้าที่รับข้อมูลตัวหนังสือหรือสัญลักษณ์ต่างๆด้วยการกดที่แป้นพิมพ์
        *แป้นพิมพ์สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา
        *แป้นพิมพ์ไร้สาย
        *แป้นพิมพ์แบบการยศาสตร์

   - เมาส์(Mouse)
     ทำหน้าที่รับข้อมูล ด้วยการควบคุมตัวชี้ตำแหน่งหรือเคอร์เซอร์บนหน้าจอ
        *เมาส์แบบกลไก
        *เมาส์แบบไร้สาย
        *เมาส์แบบใช้แสงอินฟราเรด
 
- สแกนเนอร์(Scanner)
      เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลที่ได้จากการแปลงค่าแสงที่ตกกระทบวัตถุฝห้เป็นสัญญาณดิจิทัล
        *ออพติคัสสแกนเนอร์
        *ออพติคัลรีดเดอร์

   - กล้องวิดิโอดิจิทัล(Video Digital Camera)
     เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลประเภทภาพเคลื่อนไหวซึ่งจะบันทึกข้อมูลลงในหน่วยจัดเก็บข้อมูลสำรอง
     สามารถดูไฟล์ภาพเคลื่อนไหวได้จากภาพที่ตัวกล้องหรือเชื่อมต่อกับจอภาพของคอมพิวเตอร์หรือ
    โทรทัศน์ก็ได้


   - กล้องวิดีโอพีซี (Video PC Camera)
     เป็นอุปกรณ์ที่รับข้อมูลที่พัฒนาขึ้นเพื่อถ่ายทอดภาพเคลื่อนไหวของคู่สนทนาผ่านเครือข่าย
     อินเทอร์เน็ต

   - การ์ดแสดงผล(Display Card)
      มีลักษณะเป็นแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ นิยมเรียกสั้นๆว่า การ์ดจอ ทำหน้าที่แปลงสัญญาณดิจิทัลไป
      เป็นสัญญาณแอนะล็อก

  - การ์ดเสียง(Sound Card)
      ทำหน้าที่่รับข้มูลเสียงมาประมวลผลให้เป็นสัญญาณดิจิทัล
 
    - การ์ดเครือข่าย (Network Card)
      ทำหน้าที่เชื่อมต่อสัญญาณระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับฮาร์ดแวร์อื่นๆ

   - เมนบอร์ด (Mainboard)
      เป็นแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ติดตั้งแผงวงจรไฟฟ้าหรืออุปกรณ์อิเล็กนิกส์หลายๆส่วนเข้าด้วยกัน
 
   - ฮาร์ดดิสก์(Hard Disk)
     เป็นฮาร์ดแวร์สำหรับบันทึกผลข้อมูลหลักที่ใช้กับคอมพิวเตอร์สามารถเก็บขอมูลได้มากกว่าสื่อบันทึก
     ข้อมูลแบบอื่น

   - เครื่องอ่านเขียนแผ่นดีวีดี(DVD Drive)
      ใช้สำหรับอา่นและบันทึกข้อมูลด้วยแผ่นดีวีดี พํฒนามาจากเครื่องอ่านเขียนแผ่นซีดี

 - จอภาพ(Monitor)
       ทำหน้าที่แสดงผลเพื่อสื่อสรากับผู้ใช้เป็นหลักปัจจุบันมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง                
       แบ่งออกเป็น 3 ประเภท
         1.จอภาพวีจีเอ
         2.จอภาพแบบก๊าซพลาสมา
         3.จอภาพแบบสัมผัส


   - ลำโพง(Speaker)
      ทำหน้าที่ในหน่วยแสดงผลข้อมูล ในรูปแบบเสียง ในปัจจุบ้ันมีการพัตนาเทคโนโลยีไร้สายกับลำโพง
      หรือหูฟังได้ด้วย

 - เครื่องพิมพ์(Printer)
      ทำหน้าที่นหน่วยแสดงผล ใช้สำหรับแสดงข้อมูลในรูปแบบสิ่งพิมพ์ ปัจจุบันแบ่งเป็น 2 ประเภท
         1.เครื่องพิมพ์แบบกระทบ
         2.เครื่องพิมพ์แบบไม่กระทบ

  - ยูเอสบีแฟลชไดฟ์(USB Flash Drive)ทำหน้าที่จัดเก็บหรือบันทึกข้อมูลสื่อบันทึกข้อมูลสำรองที่นิยมใช้
      มากในปัจจุบัน

 - เคส(Case)
      ใช้สำหรับติดตั้งฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์

2.ซอฟต์แวร์(software) คือ โปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่ทำให้ฮาร์ดแวร์ทำงานตามความต้องการของผู้ใช้
   - ไมโครซอฟต์วินโดวส์เอ็กซ์พี(Microsoft Windows XP)
      เป็นซอฟแวร์ระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันพัฒนามาจากวินโดวส์ 98
        
   
   
   - ไมโครซอฟต์วินโดวส์วิสตา (Microsoft Windows Vista)
       เป็นซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการของบริษัทไมโครซอฟต์ที่พัฒนาต่อเนื่่องมาจาก
       ไมโครซอฟต์วินโดวส์เอ็กซ์พี

                     
                                                 


  - ลินุกซ์(Linux)
     เป็นซอฟแวร์ระบบปฏิบัติการที่นำไปใช้งาน ประยุกต์ แก้ไข และปรับปรุง ซอฟต์แวร์ได้โดยไม่เสียค่า
     ลิขสิทธิ์ 
  

  - วินซิป(WinZip)   
     เป็นซอฟต์แวร์อรรถประโยชน์ที่ใช้บีบอัดไฟล์ข้อมูลเพื่อให้สะดวกในการจัดเก็บในอุกปร์บันทึกข้อมูล
     สำรอง

   
     - วินโดวส์เอ็กซ์พลอเรอร์(Windows Explorer)
     เป็นซอฟต์แวร์อรรถประโยชน์ที่ช่วยในการจักการข้อมูลภายในคอมพิวเตอร์

   - ไมโครซอฟต์ออฟฟิศ(Microsoft Office)
      เป็นชุดซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่ประกอบด้วย
      1ไมโครซอฟต์เวิร์ด (Microsoft Word) 
      2.ไมโครซอฟต์เพาเวอร์พอยต์(Microsoft PowerPoint)
      3.ไมโครซอฟต์เอ็กซ์เซล(Microsoft Excel)
      4.ไมโครซอฟต์แอกเซส(Microsoft Access)

   - อะโดบีโฟโต้ชอป(Adobe Photoshop)
     เป็นซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่นำไปใช้งานด้วนการตกแต่งภาพถ่าย สร้ากราฟิก และตัวอักษร
     
   - วินโดวส์มีเดียเพลเยอร์(Windows Media Player)
     เป็นซอฟแวร์ด้านความบันเทิงที่ติดตั้งมาพร้อมกับซอฟต์แวร์ระบบของบริษัทไมโครซอฟท์

         
ผู้ใช้(User)
         คือ บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ใช้งาน โต้ตอบ ควบคุม และดูแลคอมพิวเตอร์ ซึ่งควรมีความรู้และความสามารถในการใช้งานคอมพิวเตอร์ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานได้ดียิ่งขึ้น แบ่งตามลักษณะการใช้งานคอมพิวเตอรได้ 5 ประเภท ดังนี้
   -ผู้ใช้งานตามบ้าน (Home User) คือ ผู้ที่มช้งานทั่วไป มักใช้คอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะต่ำจนถึงปานกลาง โดยจะรองรับการใช้งานของผู้ใช้งานคนเดียวหรือสมาชิกภายในบ้าน ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่ใช้สามารภทำงานได้หลากหลายตามลักาณะของผู้ใช้ โดยมักมุ่งเน้นความบันเทิง

  -ผู้ใช้งานตามสำนักงานขนาดเล็ก(Small Office User) และผู้ใช้งานใบรูปแบบของสำนักงานตามบ้าน(Home Office User) คือ ผุ้ใช้งานในลักษณะนี้จะมีการรวมกลุ่มกันเพื่อประกอบธุรกิจ โยคอมพิวเตอร์จะต้องรองรับการใช้งานมากกว่า 1 คนแต่ไม่เกิน 50 คน นิยมเชื่อมต่อความพิวเตอร์เป็นเครือข่ายขนาดเล็ก เพื่อประโยชน์ในการใช้ทรัพยากรต่างๆร่วมกัน ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่ใช้ต้องตอบสนองต่อการทำงานในสำนักงานมากกว่าแบบตามบ้าน

  -ผุ้ใช้ที่ต้องการความคล่องตัว(Mobile User) คือผู้ใช้ที่นิยามใช้เทคโนโลยีไร้สายในการทำงานร่วมกันคอมพิวเตอร์ เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการทำงาน มักเป็นนักธุรกิจ นักศึกษา หรือผู้ใช่ที่ต้องทำงานต่อเนื่อง หรือ ต้องติดต่อกับผู้อื่นตลอดเวลา  ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่ใช้ต้องมีความสะดวก พกพาง่าย เบา และมีขนาดเล็ก

  -ผู้ใช้ตามสำนักงานใหญ่(Large Business User) คือ ผู้ใช้งานที่รวมตัวกันมากกว่า 50 คนขึ้นไป เพื่อประกอบธูรกิจขนาดใหญ่ ซึ่งต้องทำการติดต่อสื่อสารทั้งในองค์กรและนอกองค์กรตลอดเวลา มักมัเซิร์ฟเวอร์เป็นของตัวเอง ตอมพิวเตอร์ที่ใช้ต้องมีสามารถในการเชื่อมต่อระบบขนาดใหญ่

-ผู้ใช้งานสมรรถนะสูง(Power User) คือ ผู้ใช้งานที่ต้องทำงานกับคอมพิวเตอร์เป็นหลัก มักมัความสามารถ ความรู้ ปละประสมการณ์ในการใช้คอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี คอมพิวเตอร์จึงต้องมีสมรรถนะสูงเพื่อรองรับการทำงาน ซอฟต์แวร์ที่ใช้เป้นเฉพาะด้านในการทำงาน เรียกผู้ใช้ประเภทนี้ได้อีกอย่างว่า เวิร์กสเตชัน(Workstation Computer)

ข้อมูล
      ข้อมูลในที่นี้รวมความหมายถึงข้อมูลดิบที่ยังไม่ได้ผ่านการประมวลผลและสารสนเทศที่ประมวลผลแล้ว
      1.ชนิดของข้อมูล ข้อมูลแต่ละบิตจะมีลักษณะเฉพาะของตัวเองซึ่งแบ่งตามลักษณะได้ดังนี้
            -เลขจำนวนเต็ม(Integer) หมายถึง เลขที่ไม่มีทศนิยมหรือเศษ
            -ค่าตรรกะ(Boolean or Logical) หมายถึง ข้อมูลทางตรรกศาสตร์ซึ่งมีเพียง 2ค่าในเซต {จริง,เท็จ}
            -ตัวอักษร(Charater) หมายถึง ข้อมูลที่แทนได้ด้วยกลุ่มบิต ไม่สามารถนำไปคำนวณได้
            -สายอักขระ(String) หมายถึง กลุ่มตัวอักษรที่ประกอบกันเป็นข้อความ
            -เลขจำนวนจริง(Floating-Point Number) หมายถึง เลขจำนวนใดๆในระบบเลขจำนวนจริง ซึ่งประอบด้วยเลขทศนิยมและเลขจำนวนเต็ม
           -วันและเวลา(Date/Time) หมายถึง ข้อมูลที่แทนวันที่และเวลาที่มีการตรวจสอบรูปแบบความถูกต้องของตัวมันเองในการป้อนข้อมูล
           -Binary หมายถึง ข้อมูลใดๆที่เก็บในคอมพิวเตอร์ซึ่งมีรูปแบบนอกเหนือจากที่กล่าวมา

      2.รูปแบบของแฟ้มข้อมูล เนื่องจากข้อมูลมีจำนวนมากจึงยากต่อการจัดเก็บไว้ในความจำหลักได้ทั้งหมด จึงจัดเก็บเป็นแฟ้มข้อมูลเพื่อให้แยกเป็นอิสระจากกัน โดยในขณะที่มีการประมวลผลนั้น ข้อมูลจะถูกจัดเก็บไว้ในหน่วยความจำหลัก แล้วจะลบทิ้งไปเมื่อทำงานสิ้นสุด เพื่อจัดสรรเนื้อที่บนหน่วยความจำหลักให้ใช้ในการประมวลผลต่อไป โดยแฟ้มข้อมูลจพถูกแยกเป็น 2 รูปแบบดังนี้
          -แฟ้มหลัก(Master File) เป็นแฟ้มข้อมูลที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง
          -แฟ้มรายการเปลี่ยนแปลง(Transaction File) เป็นแฟ้มที่เกิดจากการจัดเก็บข้อมูลรายการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับแฟ้มหลัก ด้วยการรวบรวมข้อมูลไว้ในระยะเวลาหนึ่งทั้งนี้เพื่อประโยชน์ทางด้านต่างๆ

     3.ประเภทของแฟ้มข้อมูล ภายในคอมพิวเตอร์จะมีแฟ้มข้อมูลที่ใช้งาน 2 ลักษณะ คือ
          -แฟ้มข้อมูล เป็นแฟ้มที่จักเก็บหรือบันทึกโดยแฟ้มโปรแกรม ซึ่งจะมีส่วนขยายเป็นตัวบอกประเภท
          -แฟ้มโปรแกรม เป็นแฟ้มที่จัดเก็บคำสั่งต่างๆที่ใช้เพื่อการประมวลผล ซึ่งเขียนด้วยภาษาคอมพิวเตอร์

กระบวนการ(Produce)
       คือ ขั้นตอนการทำงานเพื่อใช้คอมพิวเตอร์ทำงานจนกระทั่งได้ผลลัพธ์ตามความต้องการของผู้ใช้
       *กระบวนการใช้อย่างง่าย
         1.ผู้ใช้ศึกษาวิธีการใช้หรือวิธีการทำงาน
         2.ผู้ใช้เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์
         3.เครื่องคอมพิวเตอร์เปิดซอร์ฟแวร์ประยุกต์ในการทำงาน
         4.ผู้ใช้เลือกใช้ซอร์ฟแวร์ประยุกต์ในการทำงาน
         5.ผู้ใช้ป้อนข้อมูลด้วยฮาร์ดแวร์ในหน่วยรับข้อมูลไปยังหน่วยประมวลผล
         6.หน่วยรับข้อมูลส่งข้อมูลไปยังหน่วยประมวลผล
         7.หน่วยประมวลผลตามชุดคำสั่งของซอร์ฟแวร์ที่ผู้ใช้เลือกใช้
         8.หน่วยประมวลผลส่งสารสนเทศผ่านหน่วยประมวลผลไปแสดงผล
         9.ผู้ใช้วิเคราะห์สารสนเทศจากการประมวลผลผ่านทางฮาร์ดแวร์ในหน่วยแสดงผล
         10.ผู้ใช้บันทึกสารสนเทศที่ต้องการลงในหน่วยความจำสำรอง
                          
......................................................................................


      
  
........................................................................................ :)